วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ยาเม็ดคุมกำเนิด

ยาเม็ดคุมกำเนิด


ยาเม็ดคุมกำเนิด (Combined Oral Contraceptive Pill: COCP หรือ "thePill") คือ ยาเม็ดที่มีส่วนผสมของ เอสโทรเจน (ฮอร์โมนเพศหญิง) และโพรเกสทิน (โพรเกสโทรเจนสังเคราะห์) ใช้รับประทานเพื่อยับยั้งภาวะเจริญพันธุ์ (fertility) ในเพศหญิง ยาคุมกำเนิดได้รับอนุญาตให้ใช้เป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา เมื่อ ค.ศ. 1960 ด้วยจุดประสงค์เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดมีจำนวน 12 ล้านคนในอเมริกา และ 100 ล้านคนทั่วโลก อัตราการใช้ยาคุมกำเนิดแปรผันไปตามประเทศอายุการศึกษา และสถานภาพสมรส อาทิ เกือบหนึ่งในสี่ของผู้หญิงที่อายุ 16-49 ปีในสหราชอาณาจักรใช้ยาคุมกำเนิด (ซึ่งอาจเรียกว่า combined pill หรือ minipill) แต่มีเพียง 1% เท่านั้นที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดรับประทาน (Oral contraceptive pills) แบ่งตามชนิดของฮอร์โมนที่เป็นส่วนประกอบได้เป็น 2 ชนิดหลัก ได้แก่ Combined pills,Progestin only pills

ยาเม็ดคุมกำเนิดฮอร์โมนรวม/Combined pills
ยาเม็ดคุมกำเนิด combined pills ประกอบด้วยทั้งฮอร์โมน estrogen และ progestogenมีแบบ 21 เม็ด และ 28 เม็ด โดยในแบบ 28 เม็ด จะเป็นเม็ดที่มีฮอร์โมน 21เม็ด อีก 7 เม็ดเป็นเม็ดที่ไม่มีฮอร์โมน



ยาเม็ดคุมกำเนิด combined pills แบ่งเป็น 3 ชนิด
1.Monophasic combined pill ประกอบด้วย estrogen และ progestogen ในขนาดคงที่ทุกเม็ด โดยมีอยู่ 21 เม็ด ส่วนยาคุมชนิด 28 เม็ด อีก 7 เม็ดจะเป็น วิตามิน แป้ง หรือ ferrous fumarate
2.Biphasic combined pill เป็นยาเม็ดคุมกำเนิดที่ประกอบด้วย estrogen และ progestrogenในปริมาณที่ต่างกัน 2 ระดับ ในแต่ละช่วงของรอบเดือน เพื่อเลียนแบบการหลั่งของฮอร์โมนตามธรรมชาติของสตรี คือ
1.estrogen จะมีระดับสูงช่วงต้นเดือนและลดต่ำลงช่วงปลายเดือน
2.progestogenจะมีระดับต่ำช่วงต้นเดือน และจะสูงขึ้นช่วงปลายเดือน
3.Triphasic combined pillเป็น combined pill ที่ผลิตขึ้นเพื่อเลียนแบบฮอร์โมน estrogen และ progestogen ในอัตราส่วนซึ่งคล้ายกับธรรมชาติของฮอร์โมนในรอบเดือนปกติของสตรี
1.estrogen จะมีระดับต่ำในช่วงต้นและปลายรอบเดือน จะสูงช่วงกลางรอบเดือน
2.progestogen จะมีระดับต่ำในช่วงต้นรอบเดือนและจะสูงสุดในช่วงปลายรอบเดือน

อาการไม่พึงประสงค์ของยาเม็ดคุมกำเนิดแบบ Combined pills
  • ผลจาก Estrogen สูง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน, วิงเวียน, ปวดศีรษะไมเกรน, ประจำเดือนมามากกว่าปกติ, ปวดประจำเดือนมาก, เต้านมโตเจ็บคัดเต้านม, มดลูกโตและเส้นเลือดอุดตัน
  • ผลจาก Estrogen ต่ำ ได้แก่ ประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติ, เต้านมเล็ก, มดลูกเล็ก,Early/mid cycle breakthrough bleeding หรือ มีเลือดคล้ายประจำเดือน ซึ่งมาผิดปกติ ในช่วงระหว่างต้นเดือนถึงกลางเดือน
  • ผลจาก Progesterone สูง ได้แก่ น้ำหนักเพิ่ม, เป็นสิว, หน้ามัน, ขนดก, เต้านมเล็ก, ประจำเดือนมาน้อย, ตกขาวจากเชื้อ Candida spp.
  • ผลจาก Progesterone ต่ำ ได้แก่ breakthrough bleeding หรือ มีเลือดคล้ายประจำเดือน โดยมาผิดปกติ ในช่วงหลังรอบเดือน

วิธีรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดแบบ Combined pills
เริ่มรับประทานเม็ดแรกในวันแรกที่มีประจำเดือน หรือระหว่างวันที่ 1-5 ของ menstrual cycle รับประทานยาวันละ 1 เม็ดในเวลาเดียวกันของทุกวัน โดยควรรับประทานก่อนนอน

แบบ 21 เม็ด กินวันละ 1 เม็ด เวลาเดียวกันทุกวัน โดยกินยาตามลูกศรไปจนครบ 21 เม็ด ให้รับประทาน 21 วันแล้วหยุดยาเป็นเวลา 7วัน ในวันที่ 8 รับประทานยาในแผงต่อไปเช่นเดิม (ในช่วง 7 วันที่หยุดยา จะมีประจำเดือนมา แต่จะมากี่วันไม่ต้องไปสนใจ และถึงแม้ประจำเดือนยังคงมาอยู่หรือหมดไปแล้วก็ตาม เมื่อครบ 7 วันแล้วให้เริ่มทานยาเม็ดแรกของแผงใหม่ได้เลย )




แบบ 28 เม็ดให้รับประทานทุกวันเช่นกัน ทานให้ตรงเวลากันทุกวันโดยไล่เม็ดไปตากลูกศรและเริ่มแผงใหม่ได้เลยเมื่อหมดแผงเก่า เพื่อให้สตรีกินยาติดต่อกันทุกวันโดยไม่ต้องเว้นช่วงจะได้ไม่ต้องกังวลกับการนับวัน

การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด triphasic combined pill ชนิด 28 เม็ด ให้เริ่มยาเม็ดแรกในช่วงสีแดงก่อน กินเม็ดยาที่ด้านหลังระบุให้ตรงกับวันแรกที่มีประจำเดือนมา กินตามลูกศร วันละ 1 เม็ดเวลาเดียวกันทุกวัน ห้ามลืมกิน กินยาจนหมดแผงแล้วเริ่มแผงใหม่ทันที ไม่ต้องหยุดยาให้เริ่มยาเม็ดแรกให้เหมือนกินแผงแรก
กรณีที่ลืมรับประทานยา หากลืมรับประทานยา 1 เม็ดให้รับประทานยาทันทีที่นึกได้และรับประทานเม็ดต่อไปเช่นเดิม(ในวันนั้นจึงได้รับประทานยาทั้งหมด 2 เม็ด)

หากลืมรับประทาน 2 เม็ดในสัปดาห์ที่ 1-2 ให้รับประทานยา 2 เม็ดทันทีที่นึกได้ และรับประทานอีก 2 เม็ดในวันถัดไป จากนั้นรับประทานยาตามปกติ และภายใน 7 วันของช่วงที่ลืมรับประทานยาให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นร่วมด้วย
หากลืมรับประทานยา 2 เม็ดใน สัปดาห์ที่ 3 ให้ทิ้งยาแผงเดิม และเริ่มรับประทานยาแผงใหม่ได้เลยในวันนั้น และภายใน 7 วันของช่วงที่ลืมรับประทานยาให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นร่วมด้วย
หากลืมรับประทานยา 3 เม็ด ให้หยุดรับประทานทิ้งยาแผงเดิม และเริ่มรับประทานยาแผงใหม่ได้เลยในวันนั้น และภายใน 7 วันของช่วงที่ลืมรับประทานยาให้ใช้วิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นร่วมด้วย และหากประจำเดือนขาดหายติดต่อกัน 2 เดือนอาจมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้
กรณีที่ลืมรับประทานยาเม็ดที่ไม่ใช้ฮอร์โมน ในcombined pills แบบ 28 เม็ด ให้ข้ามวันที่ลืมรับประทานไปได้ และรับประทานเม็ดต่อไปตามปกติ

ข้อห้ามใช้ (Contraindication/cautions)
  • ห้ามใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดในผู้ป่วย Thrombophlebitis, Thromboembolic phenomena,Cerebrovascular disease และผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคนี้มาก่อน
  • ห้ามใช้ในผู้ที่เป็นมะเร็งหรือคาดว่าจะเป็นมะเร็งที่เต้านม หรือ Estrogendependent tumor อื่นๆ
  • ห้ามใช้ในวัยรุ่นที่ Epiphyisal closure ยังไม่สมบูรณ์
  • ไม่ควรใช้ในผู้ที่มี vaginal bleeding โดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงการใช้ หรือระมัดระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคตับ, asthma, eczema,migraine, diabetes, hypertension และ convulsive disorder

Minipills
ยาคุมในกลุ่มนี้ไม่มี Estrogen มีแต่ Progesterone ที่มีปริมาณฮอร์โมนเท่ากันทุกเม็ด การพัฒนายาเม็ดคุมกำเนิดชนิดนี้ขึ้นเพื่อกำจัดอาการข้างเคียงต่างๆ ที่เกิดจาก Estrogen แต่ประสิทธิภาพจะลดลง และยังพบอาการข้างเคียงคือ มีเลือดออกกระปริดกระปรอย (Break through bleeding) และรอบเดือนมาไม่ปกติจึงไม่นิยมใช้มากนัก จึงควรเลือกใช้ในกรณีที่มีข้อห้ามใช้ estrogen หรือในหญิงให้นมบุตร เพราะจะไม่กดการหลั่งของน้ำนม และอาจจะมีประโยชน์เมื่อต้องการเลื่อนประจำเดือนออกไปในช่วงสั้นๆ เช่นสำหรับนักกีฬา หรือผู้ป่วยก่อนการผ่าตัด

กลไกการออกฤทธิ์
Progestin only pills ทำให้ cervical mucus ข้นเหนียวไม่เหมาะแก่การผ่านของ sperm และทำให้ endrometrialไม่เหมาะแก่การฝังตัวของตัวอ่อน

วิธีการกินยาเม็ดคุมกำเนิดชนิด Minipills
ยาคุมกำเนิดชนิดนี้ไม่มี Estrogen แต่มี Progesterone ในขนาดต่ำเท่ากันทุกเม็ด
การเริ่มทานยาแผงแรก เริ่มทานยาแผงแรกในวันแรกของการมีประจำเดือนทานทุกวัน วันละ 1 เม็ด เวลาเดียวกัน จนหมดแผง
ทานยาแผงต่อไปโดยทานต่อแผงแรกทันที ไม่ต้องเว้นวัน แม้จะมีประจำเดือน
ถ้าลืมทานยา 1 เม็ด ให้กินยาทันทีที่นึกได้ แต่ถ้านึกได้ในคืนถัดไป ก็ควรกินรวมเป็น 2 เม็ด ในคืนนั้น
ถ้าลืมกินยา 2 วัน ติดต่อกัน ให้กินยาครั้งละ 2 เม็ดใน 2 วันถัดไป
ถ้าลืมกินยามากกว่า 2 วันติดต่อกัน ให้หยุดกินยาแล้วคุมกำเนิดด้วยวิธีอื่น

ความสำคัญของจุลินทรีย์




ความสำคัญของจุลินทรีย์

             จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กมากนั้น แต่ละเซลล์จะมีกระบวนการต่างๆ ของชีวิตเกิดขึ้นได้ภายในเซลล์เดียว กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ส่วนใหญ่ก็เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ตัวมันเอง เช่น ยีสต์ มีการเปลี่ยนแปลงอาหารให้เป็นพลังงานด้วยกระบวนการหมัก (fermentation) ขณะเดียวกันก็ได้ผลผลิตเกิดขึ้น คือ เอทิลแอลกอฮอล์ที่เรานำไปใช้ประโยชน์ได้ มีจุลินทรีย์จำนวนมากที่มีความสำคัญในการผลิตสารต่างๆ ที่มีประโยชน์และช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการต่างๆ ดังต่อไปนี้

การผลิตอาหาร
อาหารที่เกิดจากการหมักของจุลินทรีย์ เรียกว่า อาหารหมัก (fermented food) เช่น กะหล่ำปลีดอง แตงกวาดอง ไส้กรอก เกิดจากการกระทำของแบคทีเรียที่สร้างกรดแล็กติก เป็นส่วนใหญ่ แบคทีเรียเหล่านี้อาจมีอยู่ตามธรรมชาติบนอาหารหรือเราตั้งใจใส่เชื้อนั้นลงในอาหาร

ผลิตภัณฑ์นมหมัก (fermented milk) มีหลายชนิด ได้แก่ นมเปรี้ยว เนยแข็ง นมเปรี้ยวซึ่งมีรสเปรี้ยวเกิดจากการหมักนมพาสเจอร์ไรซ์ด้วยแบคทีเรียที่สร้างกรดแล็กติก จึงสามารถหมักน้ำตาลแล็กโทสให้เป็นกรดแล็กติกได้ และกรดนี้ไปทำให้โปรตีนในนมตกตะกอนเป็นลิ่มเละๆ ที่เรียกว่า เคิร์ด (curd) มีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ผลิตภัณฑ์นมหมักที่นิยมในปัจจุบัน ได้แก่ โยเกิร์ต นมบัตเตอร์ นมคีเฟอร์ เป็นต้น

  • ผลิตภัณฑ์อื่นที่ทำจากนม ได้แก่ เนยเหลว (butter) ซึ่งทำจากไขมันในนม โดยนำนมมาปั่น ไขมันจะรวมตัวเป็นเม็ดแล้วกรองเอาส่วนที่เป็นน้ำออก นำไขมันมาเติมเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ Streptococcus lactis ร่วมกับ Leuconostoc citrovorum ซึ่งทำให้เนยเหลวมีกลิ่นและรสชาติเฉพาะตัว ส่วนการทำเนยแข็ง (cheese) ซึ่งมีแตกต่างกันหลายชนิดนั้นจะมีการเติมแบคทีเรีย ซึ่งเป็นเชื้อต้นตอต่างชนิดกัน เช่น S. lactis หรือ Streptococcus cremoris ทำให้ได้เนยแข็งต่างชนิดกัน แต่ละชนิดมีรสชาติและเนื้อของเนยที่แตกต่างกัน กรดที่แบคทีเรียแต่ละชนิดสร้างขึ้น จะช่วยให้นมจับตัวเป็นก้อนเคิร์ด หลังจากนี้มีการเติมเอนไซม์เรนนินลงไป เพื่อช่วยเร่งปฏิกิริยาการแข็งตัวของนม ทำให้แยกส่วนที่เป็นน้ำหรือหางนมออก ส่วนน้ำนี้เรียกว่าเวย์ (whey) แล้วจึงบีบเอาส่วนหางนมออกทำให้เนยแข็งขึ้น โดยนำไปไล่ความชื้นและใส่เกลือ เพื่อดึงน้ำออกและช่วยป้องกันการเจริญของจุลินทรีย์ ที่ไม่ต้องการ หลังจากนี้จึงนำไปบ่มด้วยแบคทีเรียหรือรา

  • การทำขนมปัง อาศัยจุลินทรีย์จำพวกยีสต์ใส่ลงในแป้งที่จะทำขนมปังแล้วนวด ยีสต์จะเกิดกระบวนหมักให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และแป้งอุ้มก๊าซนี้ไว้ จึงทำให้แป้งอ่อนนุ่มและพองตัว การคัดเลือกสายพันธุ์ยีสต์ที่ดีจะทำให้ขนมปังมีกลิ่นรสที่ดี คุณภาพของขนมปังนอกจากขึ้นกับการเลือกชนิดยีสต์แล้ว ยังขึ้นอยู่กับสภาพการบ่มเชื้อและชนิดของวัตถุดิบที่ใช้ด้วย

  • การผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ ไวน์ ไซเดอร์ ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ ไซเดอร์ทำจากแอปเปิล ไวน์ทำจากองุ่น เบียร์ทำจากข้าวบาเลย์ จุลินทรีย์ที่ใช้ คือ ยีสต์ ซึ่งจะเปลี่ยนน้ำตาลในพืชหรือผลไม้ให้เป็นแอลกอฮอล์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ การผลิตน้ำส้มสายชูหมัก ที่ใช้เป็นเครื่องปรุงรส ผลิตจากวัตถุดิบพวกแป้งและน้ำตาล เช่น น้ำผลไม้ น้ำเชื่อม กากน้ำตาล โดยมีการเปลี่ยนแปลง 2 ขั้นตอน คือ การหมักน้ำตาลให้เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ในสภาพไม่ใช้ออกซิเจน โดยอาศัยยีสต์ Saccharomyces cerevisiae var. ellipsoideus และขั้นตอนที่สองเป็นการออกซิไดซ์แอลกอฮอล์ให้เป็นกรดน้ำส้ม หรือกรดแอซิติก โดยแบคทีเรีย Acetobacter และGluconobacter
การผลิตผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม
ผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมหลายชนิดที่เกิดจากการกระทำของแบคทีเรีย ได้แก่
  การผลิตกรดแล็กติก ที่ใช้รักษาโรคขาดแคลเซียม ในรูปแคลเซียมแล็กเตต (calcium lactate) รักษาโรคโลหิตจาง โดยใช้ในรูปไอเอินแล็กเตต, (iron lactate) และใช้เป็นตัวทำละลายแลคเกอร์ในรูปเอ็นบิวทิลแล็กเตต (N-butyl lactate)
การผลิตกรดแล็กติก ใช้วัตถุดิบพวกแป้งข้าวโพด มันฝรั่ง กากน้ำตาล หางนมที่ได้จากอุตสาหกรรมนม ถ้าวัตถุดิบเป็นแป้งจะถูกย่อยเป็นกลูโคสก่อนด้วยกรดหรือเอนไซม์ ชนิดของแบคทีเรีย ที่ใช้ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบ เช่น ใช้เชื้อ L. bulgaricus เมื่อใช้หางนมเป็นวัตถุดิบ บางครั้งอาจต้องเติมสารประกอบไนโตรเจนหรือสารอื่นเพื่อช่วยให้เชื้อเจริญได้ดี ระหว่างการหมักจะเติมแคลเซียมไฮดรอกไซด์ เพื่อทำปฏิกิริยากับกรดแล็กติกให้เป็นกลาง ได้แคลเซียมแล็กเตต หลังจากนั้นจึงแยกแคลเซียมแล็กเตตออกมาและทำให้เข้มข้นขึ้น
  การผลิตกรดซิตริกหรือกรดส้ม ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เป็นเครื่องปรุงรสอาหาร ในอุตสาหกรรมน้ำหมึก สีย้อม และใช้ในวงการแพทย์ มีเชื้อราหลายชนิดที่เปลี่ยนน้ำตาลเป็นกรดส้มได้ แต่ที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง คือ Aspergillus niger
  การผลิตกรดอะมิโน จุลินทรีย์หลายชนิดสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนจากสารประกอบไนโตรเจน ซึ่งอาจสังเคราะห์ได้มากเกินความต้องการ จึงขับออกมาในอาหารเลี้ยงเชื้อ จุลินทรีย์บางชนิดสังเคราะห์กรดอะมิโนได้มากจนผลิตเป็นการค้าได้ เช่น แอล-ไลซีน (L-lysine) ผลิตโดยเชื้อ Enterobacter aerogenes กรดแอล-กลูตามิก (L-glutamic acid) โดยแบคทีเรีย Micrococus, Arthrobacter เป็นต้น
  การผลิตเอนไซม์ มีราและแบคทีเรียหลายชนิดที่สังเคราะห์เอนไซม์และขับออกจากเซลล์มาอยู่ในอาหาร ในทางอุตสาหกรรม สามารถเลี้ยงเชื้อราและแบคทีเรียให้สร้างเอนไซม์และทำให้เอนไซม์บริสุทธิ์ได้ เช่น
  • เอนไซม์อะไมเลส (Amylase) ได้จาก Rhizopus delemarMucor rouxiiAspergillus oryzae ใช้ย่อยแป้งให้เป็นเดกซ์ทรินและน้ำตาล จึงใช้เอนไซม์นี้ในการเปลี่ยนแป้งให้เป็นน้ำตาล เพื่อการผลิตแอลกอฮอล์ ใช้ในการทำให้ไวน์ เบียร์ และน้ำผลไม้ใสขึ้น
  • เอนไซม์อินเวอร์เทส (Invertase) ได้จากยีสต์ S. cerevisiae ใช้ย่อยซูโครสให้เป็นกลูโคสกับฟรักโทส จึงใช้ในอุตสาหกรรมทำลูกกวาด ไอศกรีม
  • โปรตีเอส (Protease) เป็นคำเรียกเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน ซึ่งมีหลายชนิด ได้จาก Bacillus subtilis และ A. oryzae ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหนัง การทำกาว การทำให้เนื้อนุ่ม ทำให้เครื่องดื่มใส
  • เอนไซม์เพกทิเนส (Pectinase) ได้จาก Aspergillus nigerPenicillium spp., Rhizopus spp. ใช้ในการทำให้น้ำผลไม้ใส และย่อยเพกทินในการแช่ต้นแฟลกซ์ เพื่อทำผ้าลินิน
การผลิตเชื้อเพลิง
การเกิดเชื้อเพลิงธรรมชาติในรูปถ่านหิน น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติต้องใช้เวลานับล้านๆ ปี โดยเกิดจากการทับถมของซากพืชซากสัตว์ที่ตายรวมกันเป็นตะกอน โดยอาศัยอุณหภูมิสูงและแรงกดดัน รวมทั้งการกระทำของจุลินทรีย์ เชื้อเพลิงซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติชนิดสิ้นเปลืองกำลังลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว ในขณะที่โลกมีความต้องการพลังงานจากเชื้อเพลิงมากขึ้น จึงอาจเกิดปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ทั่วโลกจึงหันมาสนใจหาแหล่งพลังงานทดแทน ซึ่งมีหลายแบบ แบบหนึ่ง คือ การผลิตเชื้อเพลิงโดยอาศัยจุลินทรีย์ เชื้อเพลิงชนิดนี้ ได้แก่ แอลกอฮอล์ และมีเทน
จุลินทรีย์จำพวกยีสต์ สามารถเกิดกระบวนการหมักสารคาร์โบโฮเดรตให้ได้แอลกอฮอล์ เพื่อใช้ทำเครื่องดื่ม ดังได้กล่าวแล้ว นอกจากนี้แอลกอฮอล์ยังใช้เป็นตัวทำละลายที่ดีด้วยและยังสามารถ ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้ โดยการผสมแอลกอฮอล์ประมาณ 10-15% กับน้ำมันที่เรียกว่า แก๊สโซฮอล์ (Gasohol)
พลังงานอีกชนิดหนึ่งได้จากก๊าซชีวภาพ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน (CH4) ที่ได้จากการหมักมูลสัตว์และของเสียจากสัตว์ โดยรวบรวมของเสียเหล่านี้ใส่ในถังหมักที่มีเชื้อ จุลินทรีย์อยู่ ทิ้งไว้ให้เกิดปฏิกิริยาในที่ไม่มีอากาศ จุลินทรีย์จะใช้สารอินทรีย์ในของเสียไปและเกิดก๊าซมีเทนขึ้น ก๊าซนี้นำ ไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการปรุงอาหารและกระบวนการอื่นๆ ที่ต้องการใช้ความร้อน ของเหลือจากถังหมัก เมื่อสะสมมากๆ ยังนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้ ปัจจุบันครอบครัวตามชนบทมีการทำเชื้อเพลิงแบบนี้ใช้เอง

การบำบัดน้ำเสีย
การบำบัดน้ำเสียประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ทั้งวิธีทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางกายภาพเป็นการบำบัดขั้นต้น เพื่อกำจัดสารแขวนลอยขนาดใหญ่ออกด้วยการตกตะกอน แยกด้วยตะแกรงแยกขยะ การกรอง การหมุนเหวี่ยง เป็นต้น ส่วนการบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีทางเคมี เช่น การออกซิเดชัน รีดักชัน โดยการเติมสารเคมีไปทำปฏิกิริยาลดหรือเติมออกซิเจน ให้กับสารที่ต้องการกำจัด เพื่อให้เปลี่ยนเป็นสารประกอบรูปอื่นที่ไม่เป็นพิษ แล้วจึงตกตะกอนแยกออกไป วิธีนี้มักใช้บำบัดน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนน้ำทิ้งจากบ้านเรือน และโรงงานอุตสาหกรรมที่มีสารอินทรีย์มาก เช่นโรงงานกระดาษ โรงงานน้ำตาล โรงงานเบียร์ ต้องใช้กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ โดยอาศัยจุลินทรีย์ที่เติมให้หรือ จุลินทรีย์ในธรรมชาติมาย่อยสลายสารอินทรีย์ การบำบัดน้ำเสียแบบนี้มีหลายระบบ เช่น ระบบแอคติเวเตดสลัดจ์ (Activated sludge process) เป็นระบบที่ให้อากาศแก่น้ำเสีย โดยการกวนน้ำแรงๆ หรือทำให้น้ำเคลื่อนไหวเพื่อรับอากาศและให้จุลินทรีย์ทำการย่อยสารอินทรีย์ ซึ่งเมื่อถูกย่อยแล้วมีลักษณะเป็นคอลลอยด์ เรียกว่า ฟลอค (floc) และมีจุลินทรีย์อยู่มาก ฟลอคนี้จะทิ้งให้ตกตะกอนเพื่อนำไปบำบัดต่อไป โดยการย่อยในสภาพไร้อากาศ (anaerobic sludge digestion) หรืออาจนำไปเติมให้น้ำเสียที่ไหลเข้ามาใหม่ๆ พร้อมทั้งกวนแรงๆ จะทำให้เกิดฟลอคได้เร็วขึ้น ฟลอคที่ตกตะกอนแล้ว เรียกว่า แอดติเวเตดสลัดจ์ (activated sludge) ซึ่งมีจุลินทรีย์จำนวนมาก เช่น ยีสต์ รา โพรโทซัว และแบคทีเรียวิธีนี้ใช้กันมาก หลังจากทิ้งให้จุลินทรีย์ย่อยสารอินทรีย์แล้วจึงส่งน้ำไปยังถังตกตะกอน น้ำที่ปล่อยทิ้งจะมีค่า BOD ลดลงมาก อีกระบบหนึ่ง เรียกว่า ทริกกลิงฟิลเตอร์ (trickling filter) อาศัยหลักการกรองโดยปล่อยให้น้ำเสียไหลลงมาตามชั้นหิน กรวด หรือวัสดุสังเคราะห์ชิ้นเล็กๆ ที่เรียงซ้อนกันเป็นแผ่น โดย อาจพ่นน้ำเสียให้เป็นฝอยขึ้นไปในอากาศก่อนเพื่อรับออกซิเจน ที่ชั้นหินจะมีจุลินทรีย์เคลือบติดอยู่เป็นฟิล์มบางๆ ซึ่งประกอบด้วยแบคทีเรีย รา โพรโทซัวและสาหร่าย เมื่อน้ำเสียไหลผ่านชั้นหินที่มีจุลินทรีย์ สารอินทรีย์จากน้ำเสียจึงเป็นอาหารให้จุลินทรีย์ทำการย่อยสลายจนได้สารที่มีโมเลกุลเล็กลงและสามารถปล่อยทิ้งได้ โดยไม่เกิดการเน่าเสียโดยจุลินทรีย์พวกอื่นอีก ระบบที่พึ่งพาธรรมชาติมากที่สุด คือ ระบบบ่อออกซิเดชัน (oxidation pond) ซึ่งต้องใช้พื้นที่ผิวมากและใช้จุลินทรีย์ธรรมชาติทำการย่อยสารอินทรีย์เอง โดยใช้ออกซิเจนจากธรรมชาติ หรือ ได้จากสาหร่ายที่ขึ้นอยู่ทำการสังเคราะห์แสงให้ออกซิเจนที่จำเป็นสำหรับแบคทีเรียนำไปใช้ ส่วนสาหร่ายที่ขึ้นอยู่ถ้าเจริญมากๆ ยังนำไปทำปุ๋ย หรือนำไปเลี้ยงสัตว์ได้

จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน                                                   จุลินทรีย์ในดินพวกแบคทีเรียและเห็ดราชนิดต่างๆ ช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์จากซากสิ่งมีชีวิตให้กลายเป็นสารอนินทรีย์ โดยจุลินทรีย์ได้สารอาหารจากซากเหล่านั้น และนำไปใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกันสารอินทรีย์ที่สลายเป็นสารอนินทรีย์ ก็เป็นสารอาหารของพืชที่ดูดซึมไปสร้างเนื้อเยื่อพืชได้ ดังนั้น ถ้าขาดจุลินทรีย์ในดิน จะทำให้ดินขาดสารอาหาร และพืชไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จุลินทรีย์ในดิน จึงเกี่ยวข้องกับวัฏจักรของสารต่างๆ ในธรรมชาติ เช่น วัฏจักรไนโตรเจน วัฏจักรคาร์บอน วัฏจักรซัลเฟอร์ เป็นต้น
ในอากาศมีก๊าซไนโตรเจนอิสระอยู่ถึง 78% แต่พืชไม่สามารถนำไปสร้างโปรตีนในเซลล์ได้ พืชได้รับไนโตรเจนในรูปเกลือไนเตรตที่รากดูดขึ้นมาจากดิน แต่จุลินทรีย์บางชนิดมีความสามารถตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศแล้วเปลี่ยนให้เป็นสารประกอบไนเตรต จุลินทรีย์เหล่านี้บางชนิดอยู่ร่วมกับรากพืช เช่น แบคทีเรียชื่อ ไรโซเบียม (Rhizobium) อยู่ร่วมกับรากพืชตระกูลถั่วแบบพึ่งพาอาศัยแบคทีเรียบางชนิดตรึงก๊าซไนโตรเจนแบบอิสระได้ เช่น Rhodospirillum rubrum, Rhodopseudomonas vanniellii หรือไซยาโนแบคทีเรียที่อยู่ในน้ำ เช่น Anabaena spp., Nostoc spp.,Oscillatoria spp. เมื่อตรึงก๊าซไนโตรเจนแล้วจะเปลี่ยนให้เป็นแอมโมเนีย และพืชนำไปใช้เปลี่ยนเป็นโปรตีนในพืช เมื่อพืชถูกสัตว์กินจะเปลี่ยนเป็นโปรตีนในสัตว์ เมื่อพืชและสัตว์ตายลงรวมทั้งสิ่งขับถ่ายจากสัตว์จะทับถมลงดิน โปรตีนและกรดนิวคลีอิกจะถูกย่อยโดยแบคทีเรียบางชนิดในดินได้กรดอะมิโน ซึ่งถูกย่อยต่อได้แอมโมเนีย แอมโมเนียอาจระเหยออกจากดินหรือละลายน้ำกลายเป็นเกลือแอมโมเนียม (NH4+) หรือถูกพืชและจุลินทรีย์นำไปใช้และอาจเปลี่ยนต่อไปเป็นไนไตรต์ (NO2-) และไนเตรต (NO3-) ไนเตรตที่ผลิตโดยจุลินทรีย์จึงเป็นปุ๋ยให้แก่พืชได้

จุลินทรีย์เป็นสาเหตุของโรค
มีจุลินทรีย์หลายร้อยชนิดที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคแก่คน สัตว์ พืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ จุลินทรีย์ที่จะทำให้เกิดโรคแก่สิ่งมีชีวิตที่มันเข้าไปอาศัยอยู่หรือที่เรียกว่าโฮสต์ได้นั้นจะต้องมีกลไกที่จะเอาชนะระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโฮสต์ แต่ถ้าโฮสต์มีความต้านทานสูงกว่า จะสามารถทำลายจุลินทรีย์ เหล่านั้นได้และไม่เกิดโรคขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้จุลินทรีย์สามารถก่อโรคได้ ขึ้นอยู่กับสารพิษ (toxin) ที่มันสร้างขึ้น ซึ่งอาจทำลายเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายโฮสต์ หรือทำลายเนื้อเยื่อ เช่น เนื้อเยื่อประสาท นอกจากนี้จุลินทรีย์ยังมีสารบางอย่างและเอนไซม์ที่ย่อยสลายส่วนประกอบของเนื้อเยื่อโฮสต์ ทำให้มันบุกรุกเข้าเนื้อเยื่อโฮสต์ และทำอันตรายโฮสต์ได้
ตัวอย่างโรคของคนที่เกิดจากแบคทีเรีย เช่น ปอดบวม Diplococcus pneumoniae, วัณโรค Mycobacterium tuberculosis, โรคเรื้อน Mycobacterium leprae, บาดทะยัก Clostridium tetani, อหิวาตกโรค Vibrio cholerae, ไทฟอยด์ Salmonella typhi, บิด Shigella dysenteriae, ซิฟิลิส Treponema pallidum, คอตีบ Corynebacterium diphtheriae, ไอกรน Bordetella pertussis เป็นต้น
โรคที่เกิดจากไวรัส ได้แก่ โรคกลัวน้ำหรือโรคพิษสุนัขบ้า Rabies virus, ไข้เลือดออก Dengue virus, ไขสันหลังอักเสบ (โปลิโอ) Poliovirus, หัด Measles virus, หัดเยอรมัน Rubella virus, คางทูม Mump virus, ไข้หวัด Rhinovirus, ไข้หวัดใหญ่ Influenza virus, เริม Herpers simplex virus, อีสุกอีใสและงูสวัด Varicella - Zoster virus, ฝีดาษ Variola virus, ตับอักเสบชนิดเอ Hepatitis A virus, ตับอักเสบชนิดบี Hepatitis B virus, เอดส์ Human immunodeficiency virus (HIV) เป็นต้น
โรคที่เกิดจากเชื้อรา มีทั้งชนิดที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังที่เยื่อบุผิวชั้นนอกและเยื่อเมือกของเซลล์ชั้นนอก ๆ การติดเชื้อแบบนี้เรียกว่า โรคผิวหนังจากเชื้อรา (Dermatomycoses หรือ Cutaneous mycoses) เช่น โรคกลาก เกลื้อน ตามผิวหนัง เล็บ และผม เกิดจากเชื้อ Microsporum, Trichophyton และ Epidermophyton ส่วนพวกที่ทำให้เกิดโรคในเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังลงไป เรียกว่า Deep mycoses หรือ Subcutaneous mycoses เกิดจากเชื้อ Blastomyces, Histoplasma, Sporotrichum เป็นต้น

ผลิตสารปฏิชีวนะและวัคซีน
สารปฏิชีวนะ หมายถึง สารที่ใช้รักษาโรคต่างๆ โดยสร้างได้จากจุลินทรีย์ชนิดหนึ่ง เพื่อไปยับยั้งหรือทำลายการเจริญของจุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่ง โดยไม่ทำอันตรายต่อผู้ใช้
ตัวอย่างสารปฏิชีวนะที่สร้างจากแบคทีเรีย เช่น สเตรปโตไมซิน คลอเตตราไซคลิน หรือ ออริโอไมซิน ออกซีเตตราไซคลิน หรือเทอราไมซิน คลอแรมเฟนิคอล อิริโธรไมซิน แอมโฟเทอริซิน บาซิตราซิน เป็นต้น
การฉีดวัคซีนเป็นวิธีป้องกันโรควิธีหนึ่ง โดยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเอง การควบคุมโรคติดเชื้อจึงจำเป็นต้องผลิตวัคซีนจำนวนมากซึ่งผลิตในลักษณะเป็นการค้า วัคซีนที่ฉีดเข้าไปก็คือ แอนติเจนที่เราจงใจใส่เข้าไปเพื่อให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีที่จำเพาะกับแอนติเจนนั้นๆ ภูมิคุ้มกันจะอยู่ในร่างกายได้นานเท่าใดขึ้นอยู่กับชนิดของแอนติเจนที่เข้าไปกระตุ้น เช่น วัคซีนที่เตรียมจากเชื้อตายแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันได้จำกัดเพียง 6 เดือนถึง 2 ปี ได้แก่ วัคซีนไทฟอยด์ อหิวาตกโรค ไอกรน โรคพิษสุนัขบ้า ไข้หวัดใหญ่ ส่วนวัคซีนที่เตรียมจากเชื้อที่มีชีวิตหรือเชื้อที่อ่อนกำลังลงจะให้ผลคุ้มกันในระยะนาน ได้้แก่ วัคซีนโปลิโอชนิดกิน หัด หัดเยอรมัน คางทูม นอกจากนี้ยังใช้ทอกซินที่หมดพิษแล้ว ที่เรียกว่า ทอกซอยด์ มาทำเป็นวัคซีนได้ เพราะยังสามารถกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันได้ เช่น ทอกซอยด์ของโรคคอตีบ และบาดทะยัก แอนติบอดีจะถูกสร้างขึ้นโดยพลาสมาเซลล์ (plasma cell) ที่เปลี่ยนแปลงมาจากบีลิมโฟไซต์ (B lymphocyte) เมื่อแอนติบอดีจับกับแอนติเจนแล้วจึงกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวชนิดฟาโกไซต์มาจับกินด้วยวิธี ฟาโกไซโทซิส (Phagocytosis) การที่แอนติบอดีจับกับแอนติเจนที่จำเพาะเจาะจงนั้น จึงทำให้แอนติบอดี ป้องกันโรคได้เพียงชนิดเดียว เมื่อเชื้อโรคถูกกำจัดออกไปแล้ว แอนติบอดีจะลดน้อยลง พลาสมาเซลล์จะเปลี่ยนเป็นเมมมอรีเซลล์ (memory cell) ซึ่งมีอายุยืนกว่า และจะเปลี่ยนกลับไปเป็นพลาสมาเซลล์ เมื่อถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจน หรือเชื้อชนิดเดิมอีกเป็นครั้งที่สอง ทำให้สร้างแอนติบอดีได้ปริมาณมากกว่า และรวดเร็วกว่า จึงทำลายเชื้อโรคนั้นได้ทันท่วงที

การสร้างจุลินทรีย์ชนิดใหม่ โดยเทคนิคพันธุวิศวกรรม
ความต้องการพัฒนาสายพันธุ์ใหม่ๆ ของจุลินทรีย์เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตร อุตสาหกรรมและทางการแพทย์ ทำให้เกิดการค้นหาจุลินทรีย์ชนิดใหม่เรื่อยๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่กระบวนการเหล่านั้น การพัฒนาให้ได้จุลินทรีย์สายพันธุ์ใหม่ๆ ที่มีความสามารถสูง สามารถให้ปฏิกิริยาได้เร็ว ให้ผลผลิตจำนวนมาก อาจทำได้โดยการปรับปรุงอาหารเลี้ยงเชื้อ สภาพแวดล้อมในการเลี้ยงเชื้อ การทำให้เกิดมิวเตชัน เพื่อให้ได้สายพันธุ์ใหม่ ปัจจุบันมีเทคนิคการตัดต่อยีนในจุลินทรีย์ ที่เรียกว่า เทคนิครีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ (recombinant DNA technology) หรือพันธุวิศวกรรม (genetic engineering) ทำให้สามารถตัดต่อยีนที่ต้องการจากสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งและนำไปใส่ในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมักเป็นจุลินทรีย์ ทำให้เพิ่มยีนนั้นขึ้นมากมายและเพิ่มผลผลิตได้ตามต้องการ
เทคนิคพันธุวิศวกรรม เป็นการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมโดยการตัดต่อยีนหรือ DNA โดยอาศัยเอนไซม์ตัดจำเพาะ ซึ่งทำหน้าที่ตัด DNA ตรงบริเวณที่มีลำดับเบสเฉพาะเจาะจง เอนไซม์ตัดจำเพาะแต่ละชนิดจะทำหน้าที่ตัด DNA ตรงจุดตัดจำเพาะต่างๆ กัน ดังนั้นจึงอาจนำยีนของคน สัตว์ พืช จุลินทรีย์ มาตัดต่อกับ DNA ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น แบคทีริโอเฟจ (ไวรัสของแบคทีเรีย) พลาสมิดของแบคทีเรีย (พลาสมิด คือ DNA วงกลมขนาดเล็กที่อยู่นอกโครโมโซมปกติของแบคทีเรีย) ซึ่งทำหน้าที่เป็นพาหะ (vector) ให้ได้ DNA ลูกผสมหรือ รีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ แล้วจึงนำ DNA ลูกผสมใส่เข้าไปในสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง (ซึ่งมักเป็นแบคทีเรีย) เพื่อให้สิ่งมีชีวิตนั้นสร้างสารผลิตภัณฑ์หรือโปรตีนที่ต้องการในปริมาณมาก
จากเทคนิคพันธุวิศวกรรมช่วยให้เกิดผลดีต่ออุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อุตสาหกรรมเกี่ยวกับยา เพราะเทคนิคนี้ช่วยให้คัดเลือกได้ลักษณะที่ต้องการและสร้างได้ปริมาณมาก
ประโยชน์ของพันธุวิศวกรรม จึงนำมาใช้ในการปรับปรุงสุขภาพ ความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อม ได้แก่
  • การผลิตฮอร์โมนที่สำคัญบางชนิด และมีความต้องการสูง เช่น อินซูลินที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน โกรทฮอร์โมน ที่ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต อินเตอร์เฟียรอน (Interferon) ที่ช่วยให้ร่างกายมีความต้านทานต่อไวรัส ปัจจุบันการผลิตฮอร์โมนดังกล่าวทำในแบคทีเรียและยีสต์
  • การผลิตวัคซีน เช่น วัคซีนป้องกันโรคตับอักเสบชนิด บี (Hepatitis B vaccine) วัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์ (foot and mouth disease vaccine) วัคซีนโรคกลัวน้ำ (Rabies vaccine) เป็นต้น การผลิตวัคซีนโดยวิธีนี้ นอกจากจะได้ปริมาณมากมายแล้ว ยังได้วัคซีนที่ดีกว่า โดยการกำจัดส่วนของแอนติเจนที่เป็นพิษทิ้งไป ทำให้ได้วัคซีนที่ดีและปลอดภัยมากขึ้น
การปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย์ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพในการสร้างผลผลิตสูงเพื่อนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การผลิตสารปฏิชีวนะ วิตามิน กรดอะมิโน ให้ได้ปริมาณมาก หรือปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย์ที่ใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช ศัตรูสัตว์ การสร้างจุลินทรีย์ที่ย่อยสลายคราบน้ำมัน และจุลินทรีย์ที่ตรึงไนโตรเจนให้กับธัญพืช เพื่อเป็นการปรับปรุงดินด้วย

สมุนไพรน้ำดอกอัญชัน

สมุนไพรน้ำดอกอัญชัน



          อัญชัน เป็นไม้เถาลำต้นมีขนนุ่มมีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียเขตร้อน เมื่อคั้นออกมาจะได้เป็นสีฟ้า เป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน    ลำต้นมีขนปกคลุม    ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6-12 เซนติเมตร  มีใบย่อยรูปไข่ 5-7 ใบกว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน  ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม  ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยวๆรูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบกลีบดอก  5  กลีบ  ดอกบานเต็มที่ยาว  2.5-3.5เซนติเมตร กลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบชั้นนอกมีขนาดใหญ่ กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อน กลีบดอกมีขนาดเท่ากันซ้อนเวียนเป็นเกลียว ออกดอกตลอดปี

 ขั้นตอน
      เครื่องปรุง
                  1.ดอกอัญชัน 100 กรัม
                  2.น้ำเชื่อม 4 ช้อนโต๊ะ
                  3.น้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ
                  4.น้ำมะนาว (ตามชอบ)

วิธีทำ
        1.ใช้ดอกอัญชันสด 100 กรัม ล้างน้ำให้สะอาดนำมาต้มในน้ำ 2 ถ้วยจนเดือด ปิดฝาทิ้งไว้ประมาณ                 2-3 นาที แล้วกรองเอาดอกอัญชันออกจากหม้อต้ม

     2. ทำน้ำเชื่อมโดยการละลายน้ำตาลทราย 500 กรัม ในน้ำเปล่า 500 กรัม


         3. นำน้ำดอกอัญชัน น้ำเชื่อม และน้ำผึ้งผสมรวมกัน ชิมรสตามชอบ

 

         4. ใครที่ชอบรสเปรี้ยวอาจบีบมะนาวตามชอบ สีของน้ำอัญชันจะเปลี่ยนจากสีฟ้าเป็นสีม่วง
 
 

ข้อแนะนำการดื่ม
        1. ควรดื่มทันทีที่ปรุงเสร็จ เพื่อให้ได้คุณค่าทางอาหารและยาอย่างเต็มที่
        2. การดื่มน้ำสมุนไพรที่อุณหภูมิ 60 องศา-เซลเซียส ขึ้นไปอาจทำให้เยื่อบุผิวหลอดอาหารเสียภูมิคุ้มกันและอาจทำให้มีการดูดซึม สารก่อมะเร็ง และจุลินทรีย์ได้ง่าย จึงควรดื่มแบบอุ่นๆ หรือเติมน้ำแข็ง

ประโยชน์ของน้ำดอกอัญชัน
        1. เป็นเครื่องดื่มดับกระหาย มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีสารแอนโธไซยานิน มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เสริมภูมิต้านทาน
        2. ใช้เป็นสีผสมอาหารโดยเฉพาะในขนมไทย เช่น ขนมชั้น ขนมน้ำดอกไม้
        3. ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น และ ทำให้เลือดไปเลี้ยงรากผมมากขึ้น ทำให้เซลล์รากผมแข็งแรงขึ้น

การต่อยอด
        น้ำดอกอัญชันนอกจากจะนำมาดื่มได้แล้ว ยังสามารถนำมาทำเป็นสีผสมอาหารในการทำขนมได้หลายอย่าง เช่น ขนมบัวลอย ขนมช่อม่วง ขนมชั้น ขนมน้ำดอกไม้ เป็นต้น

การอนุรักษ์
      น้ำดอกอัญชันนั้นมีประโยชน์ และมีสรรพคุณมากมาย เช่น    ช่วยเสริมภูมิต้านทาน    ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็น สามารถทำเป็นน้ำหวานดื่มเพื่อดับกระหายได้ และมีวิธีทำที่ง่าย จึงเหมาะแก่การทำรับประทานในทุกๆวัน

วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

พุทธประวัติ

ประวัติพระพุทธเจ้า
          พระพุทธเจ้าทรงมีพระนามเดิมว่า "สิทธัตถะ" หมายถึง ผู้ที่สำเร็จความมุ่งหมายแล้ว หรือผู้ปรารถนาสิ่งใด ย่อมได้สิ่งนั้น ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองกรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ และ "พระนางสิริมหามายา" พระราชธิดาของกษัตริย์ราชสกุลโกลิยวงศ์แห่งกรุงเทวทหะ แคว้นโกลิยะ
          ในคืนที่พระพุทธเจ้าเสด็จปฏิสนธิในครรภ์พระนางสิริมหามายา พระนางทรงพระสุบินนิมิตว่า มีช้างเผือกมีงาสามคู่ได้เข้ามาสู่พระครรภ์ ณ ที่บรรทม ก่อนที่พระนางจะมีพระประสูติกาล ที่ใต้ต้นสาละ ณ สวนลุมพินีวัน เมื่อวันศุกร์ ขึ้นสิบห้าค่ำ เดือนวิสาขะ ปีจอ 80 ปีก่อนพุทธศักราช (ปัจจุบันสวนลุมพินีวันอยู่ในประเทศเนปาล)
          ทันทีที่ประสูติ เจ้าชายสิทธัตถะทรงดำเนินด้วยพระบาท 7 ก้าว และมีดอกบัวผุดขึ้นมารองรับพระบาท พร้อมเปล่งพระวาจาว่า "เราเป็นเลิศที่สุดในโลก ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายของเรา" แต่หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะประสูติกาลได้แล้ว 7 วัน พระนางสิริมหามายาก็เสด็จสวรรคาลัย เจ้าชายสิทธัตถะจึงอยู่ในความดูแลของพระนางประชาบดีโคตมี ซึ่งเป็นพระกนิษฐาของพระนางสิริมหามายา 
          ทั้งนี้ พราหมณ์ ทั้ง 8 ได้ทำนายว่า เจ้าชายสิทธัตถะมีลักษณะเป็นมหาบุรุษ คือ หากดำรงตนในฆราวาสจะได้เป็นจักรพรรดิ ถ้าออกบวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก แต่โกณฑัญญะพราหมณ์ผู้อายุน้อยที่สุดในจำนวนนั้น ยืนยันหนักแน่นว่า พระราชกุมารสิทธัตถะจะเสด็จออกบวช และจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

 ประวัติพระพุทธเจ้า : ชีวิตในวัยเด็ก
          เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาเล่าเรียนจนจบศิลปศาสตร์ทั้ง 18 ศาสตร์ ในสำนักครูวิศวามิตร และเนื่องจากพระบิดาไม่ประสงค์ให้เจ้าชายสิทธัตถะเป็นศาสดาเอกของโลก จึงพยายามทำให้เจ้าชายสิทธัตถะพบเห็นแต่ความสุข โดยการสร้างปราสาท 3 ฤดู ให้อยู่ประทับ และจัดเตรียมความพร้อมสำหรับการราชาภิเษกให้เจ้าชายขึ้นครองราชย์
          เมื่อมีพระชนมายุ 16 พรรษา ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา หรือยโสธรา พระธิดาของพระเจ้ากรุงเทวทหะซึ่งเป็นพระญาติฝ่ายพระมารดา จนเมื่อมีพระชนมายุ 29 พรรษา พระนางพิมพาได้ให้ประสูติพระราชโอรส มีพระนามว่า "ราหุล" ซึ่งหมายถึง "บ่วง" 
ประวัติพระพุทธเจ้า : เสด็จออกผนวช
ประวัติพระพุทธเจ้า
          วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อความจำเจในปราสาท 3 ฤดู จึงชวนสารถีทรงรถม้าประพาสอุทยาน ครั้งนั้นได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช โดยเทวทูต (ทูตสวรรค์) ที่แปลงกายมา พระองค์จึงทรงคิดได้ว่า นี่เป็นธรรมดาของโลก ชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ จึงทรงเห็นว่าความสุขทางโลกเป็นเพียงภาพมายาเท่านั้น และวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ คือต้องครองเรือนเป็นสมณะ ดังนั้นพระองค์จึงใคร่จะเสด็จออกบรรพชา ในขณะที่มีพระชนม์ 29 พรรษา
          ครานั้นพระองค์ได้เสด็จไปพร้อมกับนายฉันทะ สารถี ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่ง นามว่ากัณฑกะ มุ่งตรงไปยังแม่น้ำอโนมานที ก่อนจะประทับนั่งบนกองทราย ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ และเปลี่ยนชุดผ้ากาสาวพัตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) และให้นายฉันทะ นำเครื่องทรงกลับพระนคร ก่อนที่พระองค์จะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่) ไปโดยเพียงลำพัง เพื่อมุ่งพระพักตร์ไปยังแคว้นมคธ

ประวัติพระพุทธเจ้า : เสด็จออกผนวช
          วันหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะทรงเบื่อความจำเจในปราสาท 3 ฤดู จึงชวนสารถีทรงรถม้าประพาสอุทยาน ครั้งนั้นได้ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช โดยเทวทูต (ทูตสวรรค์) ที่แปลงกายมา พระองค์จึงทรงคิดได้ว่า นี่เป็นธรรมดาของโลก ชีวิตของทุกคนต้องตกอยู่ในสภาพเช่นนั้น ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงเกิด แก่ เจ็บ ตายได้ จึงทรงเห็นว่าความสุขทางโลกเป็นเพียงภาพมายาเท่านั้น และวิถีทางที่จะพ้นจากความทุกข์ คือต้องครองเรือนเป็นสมณะ ดังนั้นพระองค์จึงใคร่จะเสด็จออกบรรพชา ในขณะที่มีพระชนม์ 29 พรรษาครานั้นพระองค์ได้เสด็จไปพร้อมกับนายฉันทะ สารถี ซึ่งเตรียมม้าพระที่นั่ง นามว่ากัณฑกะ มุ่งตรงไปยังแม่น้ำอโนมานที ก่อนจะประทับนั่งบนกองทราย ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ และเปลี่ยนชุดผ้ากาสาวพัตร์ (ผ้าย้อมด้วยรสฝาดแห่งต้นไม้) และให้นายฉันทะ นำเครื่องทรงกลับพระนคร ก่อนที่พระองค์จะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ (การเสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่) ไปโดยเพียงลำพัง เพื่อมุ่งพระพักตร์ไปยังแคว้นมคธ

ประวัติพระพุทธเจ้า : บำเพ็ญทุกรกิริยา
หลังจากทรงผนวชแล้ว พระองค์มุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ ได้พยายามเสาะแสวงทางพ้นทุกข์ ด้วยการศึกษาค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร แต่เมื่อเรียนจบทั้ง 2 สำนักแล้ว ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์
        จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยการขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร จนร่างกายซูบผอม แต่หลังจากทดลองได้ 6 ปี ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา และหันมาฉันอาหารตามเดิม ด้วยพระราชดำริตามที่ท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย 3 วาระ คือดีดพิณสายที่ 1 ขึงไว้ตึงเกินไปเมื่อดีดก็จะขาด ดีดพิณวาระที่ 2 ซึ่งขึงไว้หย่อน เสียงจะยืดยาดขาดความไพเราะ และวาระที่ 3 ดีดพิณสายสุดท้ายที่ขึงไว้พอดี จึงมีเสียงกังวานไพเราะ ดังนั้นจึงทรงพิจารณาเห็นว่า ทางสายกลางคือไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนเกินไป นั่นคือทางที่จะนำสู่การพ้นทุกข์
          หลังจากพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ทำให้พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ ที่มาคอยรับใช้พระองค์ด้วยความคาดหวังว่าเมื่อพระองค์ค้นพบทางพ้นทุกข์ จะได้สอนพวกตนให้บรรลุด้วย เกิดเสื่อมศรัทธาที่พระองค์ล้มเลิกความตั้งใจ จึงเดินทางกลับไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี

ประวัติพระพุทธเจ้า : ตรัสรู้
          ครานั้นพระองค์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ แม้จะมีหมู่มารเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุรูปฌาณ คือ ครานั้นพระองค์ทรงประทับนั่งขัดสมาธิ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ อุรุเวลาเสนานิคม เมืองพาราณสี หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก และตั้งจิตอธิษฐานด้วยความแน่วแน่ว่าตราบใดที่ยังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกขึ้นจากสมาธิบัลลังก์ แม้จะมีหมู่มารเข้ามาขัดขวาง แต่ก็พ่ายแพ้พระบารมีของพระองค์กลับไป จนเวลาผ่านไปในที่สุดพระองค์ทรงบรรลุรูปฌาณ คือ
          ยามต้น หรือปฐมยาม ทรงบรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ คือ สามารถระลึกชาติได้
          ยามสอง ทางบรรลุจุตูปปาตญาณ (ทิพยจักษุญาณ) คือ รู้เรื่องการเกิดการตายของสัตว์ทั้งหลายว่าเป็นไปตามกรรมที่กำหนดไว้
          ยามสาม ทรงบรรลุอาสวักขยญาณ คือ ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ หรือกิเลส ด้วยอริยสัจ 4 ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค และได้ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเป็นศาสดาเอกของโลก ซึ่งวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรงกับวันเพ็ญเดือน 6 ขณะที่มีพระชนม์ 35 พรรษา
ประวัติพระพุทธเจ้า : เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน
         
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จโปรดสัตว์และแสดงพระธรรมเทศนา ตลอดระยะเวลา 45 พรรษา ทรงสดับว่า อีก 3 เดือนข้างหน้าจะปรินิพพาน จึงได้ทรงปลงอายุสังขาร ขณะนั้นพระองค์ได้ประทับจำพรรษา ณ เวฬุคาม ใกล้เมืองเวลาสี แคว้นวัชชี โดยก่อนเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน 1 วัน พระองค์ได้เสวยสุกรมัททวะที่นายจุนทะทำถวาย แต่เกิดอาพาธลง ทำให้พระอานนท์โกรธ แต่พระองค์ตรัสว่า "บิณฑบาตที่มีอานิสงส์ที่สุด มี 2 ประการ คือ เมื่อตถาคต (พุทธองค์) เสวยบิณฑบาตแล้วตรัสรู้ และปรินิพพาน" และมีพระดำรัสว่า "โย โว   อานนท   ธมม  จ วินโย มยา เทสิโต ปญญตโต  โส  โว  มมจจเยน  สตถา" อันแปลว่า  "ดูก่อนอานนท์  ธรรมและวินัยอันที่เราแสดงแล้ว  บัญญัติแล้วแก่เธอทั้งหลาย  ธรรมวินัยนั้น  จักเป็นศาสดาของเธอทั้งหลาย  เมื่อเราล่วงลับไปแล้ว"

พระพุทธเจ้าทรงประชวรหนัก แต่ทรงอดกลั้นมุ่งหน้าไปยังเมืองกุสินารา ประทับ ณ ป่าสาละ เพื่อเสด็จดับขันธุ์ปรินิพพาน โดยก่อนที่จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนั้น พระองค์ได้อุปสมบทแก่พระสุภัททะปริพาชก  ซึ่งถือได้ว่า "พระสุภภัททะ" คือสาวกองค์สุดท้ายที่พระพุทธองค์ทรงบวชให้ ในท่ามกลางคณะสงฆ์ทั้งที่เป็นพระอรหันต์ และปุถุชนจากแคว้นต่างๆ รวมทั้งเทวดา ที่มารวมตัวกันในวันนี้
          ในครานั้นพระองค์ทรงมีปัจฉิมโอวาทว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลาย สังขารทั้งปวงมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา พวกเธอจึงทำประโยชน์ตนเอง และประโยชน์ของผู้อื่นให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด" (อปปมาเทน สมปาเทต) จากนั้นได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ใต้ต้นสาละ ณ สาลวโนทยาน ของเหล่ามัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 รวมพระชนม์ 80 พรรษา และวันนี้ถือเป็นการเริ่มต้นของพุทธศักราช